當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 泰國曆史漫談 曾經的“蘭納王國” 現在的“泰國清邁”

泰國曆史漫談 曾經的“蘭納王國” 現在的“泰國清邁”

推薦人: 來源: 閱讀: 2.44K 次

去過清邁的同學一定有這樣的感覺,那裏的語言、文化感覺好像都和在曼谷見到的不太一樣,實際上,古代這裏可是大名鼎鼎的蘭納王國,曾經也是非常繁榮的,有自己獨特的文化,但是後來因爲歷史原因成爲了泰王國的一個行政組成部分,但是也抵擋不住蘭納文化的獨特魅力。當時的泰國政府爲了建立更加穩定的管理,曾經採取過哪些措施呢?今天我們就來一起看看。

ing-bottom: 58.91%;">泰國曆史漫談 曾經的“蘭納王國” 現在的“泰國清邁”

ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในสยามกำเนิดรัฐแบบใหม่ที่บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้จำเป็นต้องสลายอำนาจท้องถิ่นเพื่อดึงทรัพยากรและผู้คนมาเป็นของรัฐบาลส่วนกลาง สำหรับกรณีของล้านนา สยามเลือกใช้วิธีของเข้าอาณานิคมผสมผสานกับธรรมเนียมของรัฐจารีต หากยังขาดจิตสำนึกร่วมชาติ รัชกาลที่ 6 จึงทรงใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
佛曆25世紀(1857-1956年)初,暹羅產生了中央集權的新式行政體制,因此必須要消滅地方勢力,爲中央政府吸收財富和人口。在面對蘭納的時候,暹羅採取了政治和文化雙重手段,但是仍然無法使 蘭納產生作爲暹羅國民之心,拉瑪六世於是採用了教育的手段,來實現統一集權。

ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ ใน “เปิดแผนยึดล้านนา” ในที่นี้ขอคัดย่อเพียงส่วนเกี่ยวกับการมานำเสนอพอสังเขปดังนี้
關於這件事,助理教授Nuaon Khrouthongkhieo博士進行過研究,並且創作了題爲《統治蘭納計劃》的論文,文章概要如下:

ครั้งนั้นรัฐบาลสยามเร่งจัดตั้งโรงเรียนตัวอย่างในท้องถิ่น ได้แก่ โรงเรียนหลวงที่รัฐบาลกลางจัดตั้งและอุดหนุน, โรงเรียนประชาบาล ที่เจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่, ราษฎร และพระสงฆ์ร่วมมือกัน และโรงเรียนราษฎร ที่จัดตั้งโดยเอกชน นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 และพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
當時,政府緊急建設了典範學校,比如中央政府建立和資助的皇家學校,當地政府、民衆和僧侶共同創建的地方學校,民間創辦的國民學校。除此之外,還頒佈了兩項教育法案,分別是1918年國民教育皇家法案和1921年基礎教育皇家法案。

พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 กำหนดให้ผู้ที่ต้องการจัดตั้งโรงเรียนต้องไม่เคยเป็นผู้ที่ต้องโทษคดีอาญา ด้วยข้อหากบฏหรือประทุษร้ายต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือแผ่นดิน ครูผู้สอนต้องมีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะใช้สอนและอบรมนักเรียน, โรงเรียนต้องสอนตามหลักสูตรของกระทรวงธรรมการโดยให้เรียนวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และหน้าที่ พลเมืองดี ต้องสอนให้นักเรียนอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ตลอดจนปลูกฝังความจงรักภักดีต่อชาติไทย และบังคับให้ทุกโรงเรียนต้องประดับพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวและธงชาติไทย รวมทั้งร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี วันละ 1 ครั้งหลังเลิกเรียน
1918年國民教育皇家法案規定學校的創辦者不得是曾經背叛國王或國家的刑事犯罪分子,教師需要有足夠的泰語知識教授學生,學校要按照泰國教育部規定的課程教授,如:地理、歷史、國民義務等課程,要讓學生能用泰語流利地讀寫,很好地理解泰語,培養學生對泰國的熱愛,每個學校必須掛泰國國王相和泰國國旗,每天下課必須吟唱一次頌聖歌。

พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 กําหนดให้ เด็กทั้งชายและหญิงทุกคนที่มีอายุ 7-14 ปี ได้เรียนหนังสือในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนประชาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน, รัฐใช้วิธีเรียกเก็บเงินศึกษาพลีจากชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18-60 ปี คนละ 1-3 บาทเป็นรายปีเพื่ออุดหนุนโรงเรียนประชาบาลในแต่ละท้องที่, เด็กที่ได้รับการยกเว้นจากพระราชบัญญัตินี้คือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีแต่มีความรู้ประโยคประถมศึกษา เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสติปัญญา และเด็กที่มีบ้านห่างจากโรงเรียน 3,200 เมตร พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นความพยายามนําเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานและผ่านการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์
1921年基礎教育皇家法案規定,7-14歲的泰國兒童有權免費進入政府和國民學校進行學習,政府每年向18-60歲的男性國民徵收每人1-3泰銖的費用來支持地方國民學校。不受此法案限制的兒童是年齡低於14歲但已擁有小學階段的知識,身體或智力有缺陷的兒童,家距離學校超過3200米的兒童,上述法案極力將兒童納入教育體系,傳授基礎知 識,培養學生的價值觀。

ในมณฑลพายัพ นักเรียนชายและหญิงที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอน หนังสือไทยราวกลางทศวรรษที่ 2460 มีเพียงร้อยละ 17 แต่จากการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ทําให้เด็กจํานวนมากถูกบังคับให้เข้าโรงเรียนโดยใช้ภาษาไทยกลาง รวมทั้งถูกปลูกฝังแนวคิดจากรัฐส่วนกลางอย่างน้อย 7 ปี ความรู้และวิธีปฏิบัติในโรงเรียนจึงส่งผลต่อการดํารงชีวิตของเด็กเหล่านี้ไม่มากก็น้อย
在當時的Payap省,佛曆24世紀60年代中期(1917年-1926年中期,即1921年左右)進入泰語授課的學校的學生比例僅有17%。隨着國民學校數量不斷增加和基礎教育法案頒佈之後,很多兒童被迫進入學校接受泰語教育,進行至少長達7年 的國民教育,所獲取的知識和實踐或多或少都對這些兒童的生計提供了幫助。

ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาจรรยาต้องสอนให้ เกิดความรักชาติภูมิ จงรักภักดีต่อกษัตริย์ วิชาภูมิศาสตร์และพงศาวดารต้องสอน ให้รู้ว่าสยามเกี่ยวข้องกับประเทศอื่นอย่างไรเพื่อให้เกิดความรักชาติและปรารถนาที่จะ บํารุงบ้านเมืองของตน โดยเฉพาะภูมิศาสตร์สยามต้องสอนให้เด็กสามารถจําแผนที่สยาม รู้จักมณฑลและที่ตั้งของศาลารัฐบาลประจํามณฑล ทางรถไฟ แม่น้ำลําคลอง ภูเขา ฝั่งทะเลและทางไปมาติดต่อกับต่างประเทศ สินค้าสําคัญ และรู้จักภูมิศาสตร์ ประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวกับสยามโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการค้า
至於初級中學教育階段,需 要教授學生愛國,對國王忠誠,地理和歷史學科必須教授,讓學生知道暹羅與其他國家的關係,讓學生產生愛國之心,願意爲國家做出貢獻,尤其是地理學科要讓學生記住泰國的地圖,認識省份和省政府所在地,認識鐵路、運河、山川、海岸線和與其他國家聯絡的路線、重要商品,懂得鄰國的地理狀況,尤其是貿易方面。

ที่น่าสนใจคือ วิชาความรู้เรื่องเมืองไทย รัฐบาลมีแนวคิดให้เด็ก
值得注意的是,關於泰國的知識 ,政府規定了:

1.ให้รู้จักวิชาภูมิศาสตร์พอเป็นการเปิดหูเปิดตากับรู้ภูมิศาสตร์ สยามพอเข้าใจพงศาวดารของประเทศสยามทั้งสมัยใหม่และสมัยเก่า
1.瞭解地理,認識地理 ,開闊眼界,學習古代和現代泰國的歷史;

2.ให้รู้พงศาวดารโดยย่อของชาติไทยว่าเดิมสืบกันมาแต่ไหน รวบรวมกันเข้าอย่างไร ต้องแข่งขันสู้รบกับใครบ้าง แล้วเปลี่ยนมาเป็น ลําดับเวลาจนตั้งเป็นหลักฐานดังปรากฏในทุกวันนี้ได้อย่างไร
2.學習泰族的歷史,泰 民族的來源,如何形成,經歷了和誰的鬥爭,如何演化到現在;

3.ให้รู้จักวิธีปกครองบ้านเมืองนี้แต่โดยสังเขป คือรู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินคืออะไร กระทรวงมหาดไทย มีไว้ทําไม โรงศาลมีทําไม ทหารมีไว้ทําไม ผู้ใหญ่บ้านคืออะไร ราษฎรจะต้องเชื่อฟังคํา ของหัวหน้าอย่างไร ดังนี้เป็นต้น..
3.簡要學習保護國家的方法 ,瞭解王國、內政部、法院、軍隊、村長等的作用,國民要聽從領導等等。

จะเห็นได้ว่าหลักสูตรและเนื้อหาในแบบเรียนที่สยามสร้างขึ้น นอกจากมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังความรู้ที่เกี่ยวกับรัฐประชาชาติ ความรักและภักดีต่อสถาบันชาติ และพระมหากษัตริย์ รับรู้และเชื่อฟังต่ออํานาจรัฐสมัยใหม่ รวมทั้งความเป็นมาของ ชาติไทยแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐที่จะหลีกเลี่ยงการกล่าวถึง ความแตกต่างทางด้านภูมิภาค เชื้อชาติ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมย่อยของภูมิภาคโดยเฉพาะหัวเมืองประเทศราช
可以看到,暹羅設計的課程和內容,除了持有培養愛國、愛王、服從新政府的目的,即形成泰國人意識,還反映了政府避免提到在地理、種族和文化習俗方面的不同,尤其是當時附屬國 的首城。

หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาในมณฑลพายัพและมณฑลมหาราษฎร์กว่า 3 ปี แต่อัตราการเข้าเรียนของเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์มีเพียงร้อยละ 38 หากความพยายามจัดการศึกษาของรัฐเพื่อลบภาพลาวล้านนาออกไปจากการรับรู้ของสังคม และทําให้คนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เข้ามาอาศัยในสยามรู้สึกถึงความเป็นชาติไทยร่วมกัน สิ่งเหล่านี้เริ่มปรากฏผลราวต้นทศวรรษที่ 2470 ดังรายงาน ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมาซึ่งทรงตั้งข้อสังเกตถึงราษฎรพื้นเมืองที่ผ่าน การศึกษาในโรงเรียนสอนหนังสือไทยไว้ว่า
在宣佈Payap和Maharat省實施基礎教育法案三年之後,適齡兒童的入學率僅有38%,但是政府實施的教育舉措成功消除了社會對蘭納的認知,讓暹羅所居住的各個 民族都能感覺到團結一致,結果在20世紀20年代初得以呈現,可以從阿沙當·德差武關於泰國國民學校教育的報告中看出:

“สําหรับคนพื้นเมืองชั้นใหม่ที่ได้เข้าโรงเรียน…ได้รับความฝึกฝนให้อ่านและเขียนหนังสือ และพูดภาษาไทยธรรมดาได้…พวกเหล่านี้เมื่อสามารถเขียนอ่านหนังสือและพูดภาษาไทยธรรมดาแล้ว ก็ดูนิยมที่จะใช้ความรู้ใหม่มากกว่าที่จะลงพูดจาตามเสียงพื้นเมืองที่เคยมาแต่เดิม และรู้สึกว่าสนิทสนมยิ่งขึ้นด้วย…”
“新進到學校的 民衆,受到了讀寫的訓練,可以正常說泰語,這些人學會了泰語之後,就不會再像以前那樣使用的當語言,會和其他人更加親密。”

นอกจากนี้กิจวัตรประจำวันอื่นๆ ในโรงเรียน การเล่นกีฬา, การแสดงของนักเรียน, พิธีการต่าง ส่วนใหญ่ก็เลียนแบบกรุงเทพฯ ทั้งหมดนี่คือความพยายามที่จะผสมกลมกลืนชาติพันธุ์ต่างๆ ให้กลายเป็นไทย อีกทั้งมีผลทำให้คนล้านนาใกล้ชิดกับกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น
除此之外,學校裏的各種活動,包括體育、表演、各種儀式,都是模仿曼谷的形式,這些全部都是爲了給各個民族披上泰國的外衣,另外也讓蘭納人和曼谷人的關係更加親密。

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。