當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 泰語中同音的一對元音/aj/ 你知道它們的“名字”是哪裏來的嗎?

泰語中同音的一對元音/aj/ 你知道它們的“名字”是哪裏來的嗎?

推薦人: 來源: 閱讀: 2.83W 次

學習泰語的同學一定區分過泰語裏的兩個元音/aj/,雖然發音相同,但是在拼寫單詞的時候可不能隨便使用,該是哪個就必須使用哪個,爲了進行區分,還專門爲它們兩個取了名字,你知道它們的名字嗎?知道它們的名字都是怎麼來的嗎?今天,我們就來告訴大家。

ing-bottom: 52.19%;">泰語中同音的一對元音/aj/ 你知道它們的“名字”是哪裏來的嗎?

ผมได้เห็นลายพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหนังสือ “700 ปี ลายสือไทย” ของศาสตราจารย์กำธร สถิรกุล) ที่ทรงเรียกสระไอว่า ไม้มะไล แล้วสงสัยว่า คำว่า มะไลมาจากไหน
我看到 了拉瑪六世王的手跡(在Kamthong Sathirakul教授的《泰國手跡700年》書中),將元音ไอ叫做ไม้มะไล,這個元音到底是哪裏來的呢?

เปิดดู “พจนานุกรมไทย” ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม พบคำว่า มะไลก๊าด ซึ่งแปลว่า “ชื่อผ้าโสร่งเนื้อดีเป็นมันมาจากเมืองปลิกัด (Pulicat) ในอินเดีย” ไปคนละทิศเลย
在Wit Thiangburanatham博 士的字典中發現了มะไลก๊าด這個詞,意思是:“來自印度布利格德的上等紗籠”,完全是兩個意思。

คำที่ออกเสียงใกล้กับคำว่า มะไล ก็มีแต่คำว่า มาลัย ซึ่งแต่ก่อนเขียนว่า มาไลย ดังคำอธิบายในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชื่อ มูลบทบรรพกิจ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ว่า
和มะไล發音類似的詞只有มาลัย ,以前寫作มาไลย,在Noi Acharayangkun編寫的泰語教材中解釋了這個詞:

ไม้มลายลักษณชี้ สองสฐาน
ไม้มลาย這個符 號有兩種情況
จักบอกแบบบรรหาร แห่งไว้
 案就是
พวกคำมคธขาน ควรใส่ ยอแฮ
摩揭 陀語的詞彙要加ยอแฮ
ไม้มลายล้วนใช้ ส่วนข้างคำสยาม
暹羅語 的詞彙才用ไม้มลาย

ผู้แต่งได้ยกตัวอย่างคำศัพท์ให้ดูมากมายหลายคำ ซึ่งผมคัดมาเพียงบางคำดังนี้ ชลาไลย อายุไขย วินิจไฉย อวยไชย จุธาธิปะไตย พระหฤไทย วิไนย โรคไภย สงไสย อาไศรย มาไลย เหล่านี้ล้วนเป็นคำที่มาจากภาษามคธทั้งสิ้น
作者使用了很多詞作爲例子,我挑選了下面幾個:ชลาไลย อายุไขย วินิจไฉย อวยไชย จุธาธิปะไตย พระหฤไทย วิไนย โรคไภย สงไสย อาไศรย มาไลย,這些詞全部來自摩 揭陀語

ปัจจุบันเราใช้ไม้หันอากาศ ตามด้วยตัว ย เว้นแต่คําที่ใช้สระ เ-ยฺย มาก่อน เช่น ไทยธรรม อธิปไตย ไสยศาสตร์ เป็นต้น คำไทยแท้ไม่ต้องมีตัว ย ตาม
 在我們用半個短元音a再加上ย這個輔音字母,除了以前用เ-ยฺย這個元音的詞彙,例如ไทยธรรม อธิปไตย ไสยศาสตร์等等,純泰語的詞彙不需要加ย在後面。

ตามธรรมดา เรามักจะเรียกชื่อตัวอักษรตามคำศัพท์ที่ใช้อักษรนั้น ๆ เช่น ก ไก่, ข ไข่, ธ ธง, ร เรือ บางคนเรียกว่า ธ เธอ, ร รักษา แสดงว่าเขาเรียกชื่อตามศัพท์ซึ่งอาจจะเป็น ธง หรือ เธอ ก็ได้ เรือ หรือ รักษา ก็ได้ แต่ที่นิยมมากกว่าคือศัพท์ที่เป็นคำนาม เพราะสามารถเขียนรูปประกอบได้ ทำให้เด็กจำได้ง่าย คำว่า ธ เธอ และ ร รักษา ก็เลยไม่มีใครใช้ และคนสมัยนี้อาจจะไม่เคยได้ยินเลยก็ได้
一般情況下,我們會根據字母所用的詞彙來給字母命名,例如ก ไก่, ข ไข่, ธ ธง, ร เรือ,有些人也叫ธ เธอ, ร รักษา,說明可以根據ธง 或者เธอ, เรือ 或者รักษา爲字 母命名都可以,但是更習慣於使用名詞來命名,因爲可以畫出圖片來展示,讓兒童更加容易記憶,所以ธ เธอ 和ร รักษา用的人就比較少,現代人可能都沒有聽過。

สระอื่น ๆ ไม่มีเสียงพ้องกัน จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยศัพท์ช่วย แต่ สระใอ สระไอ จำเป็นต้องเรียกให้ต่างกัน จึงมีชื่อว่า สระใอไม้ม้วน ตามรูปร่างลักษณะของมัน
其他元音沒有發 音相同的,所以不需要用詞彙來給它們命名,但是元音ใอ 和ไอ同音,所以需要區分,於是就將ใอ根據其外形特徵稱爲ไม้ม้วน。

ส่วนสระไอนั้น ท่านคงจะเรียกตามศัพท์ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ มาไลย ซึ่งแปลว่า พวงดอกไม้ ฟังเพราะหู และมองเห็นภาพที่สวยงามด้วย ถ้าเรียกว่าไม้มลาย ความหมายไม่ค่อยเป็นมงคลเลย เพราะมลาย แปลว่า “ตาย, แตก, ทำลาย, สูญไป” คนไทยแต่ก่อนถือนักเรื่องถ้อยคำที่เป็นอัปมงคล จะไม่ยอมใช้กันง่าย ๆ
至於ไอ這個元音,可能就是根據大家都熟知的使用這個元音的詞มาไลย爲它命名了,這個詞的意思是“花串”,聽起來很好聽,而且也能想象出美麗的畫面。如果我們把 這個元音叫做ไม้มลาย,那意思就不是特別吉利了,因爲ไม้มลาย的意思是“死亡、破裂、破壞、消失”,以前的泰國人非常忌諱這些不吉利的話語,不會輕易使用的。

บางท่านว่า “มลาย” แผลงมา จาก “มาย” ซึ่งเป็นคำในภาษาไทยพายัพและอีสาน แปลว่า “คลาย” ตรงข้ามกับคำว่า “ม้วน” แต่ในวรรณคดีไทยภาคกลาง ผมไม่เคยเห็นท่านใช้คำว่า มลาย ในความหมายว่า “คลาย” เลย แม้แต่คำว่า “มาย” เองก็ไม่มี แล้วจะเอาอะไรมาแผลง ?
有些人說มลาย 這個詞音變自มาย,這個詞是泰國西北和東北方言中的詞彙,意思是“展開”,和ม้วน “卷”是反義詞,但是在泰國中部的文學作品中,我沒有見到過มลาย這個詞用做“展開”的意思,就連มาย這個詞哦讀沒有,那是從來音變的呢?

อักษรธรรมล้านนามีสระไอเพียงรูปเดียว เรียกว่า ไม้ไก๋ ไม่มีคําว่าไม้ม้วน ไม้มาย แต่อักษรธรรมอีสานมีทั้งสระใอและสระไอ จากการพิจารณาดูรูปร่างของสระใอในหนังสือ “อักษรธรรมอีสาน” ของอาจารย์เพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์ แห่งภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร หางของสระใอ ถ้าไม่เหยียดออกก็เพียงแต่งอลงมาเล็กน้อย ไม่ถึงกับม้วนขอดเหมือนสระไอของภาคกลาง
蘭納文字中只有一個原因aj的字母,叫做ไม้ไก๋,沒有ไม้ม้วน ไม้มาย這兩個詞,但是東北泰文有ใอ和ไอ兩個元音,可以從藝術大學考古學院東方語言系Phenphak Limsamphant老師的《東北泰文字母》一書中看到元音ใอ的形狀,ใอ的尾巴沒有伸出去,而是向下了一些,但是沒有像中部泰語ไอ那樣完全卷下來。

เมื่อไม่มีไม้ม้วน แล้วจะมีไม้มายได้อย่างไร หนังสือ “อักษรธรรมอีสาน” ดังกล่าวก็ไม่ได้เรียกสระใอไม้ม้วน หรือสระไอไม้มายแต่อย่างใด ถ้าหากจะมีตำราอักษรธรรมอีสานที่เรียกเช่นนั้น ก็คงจะเป็นตําราที่แต่งขึ้นภายหลังด้วยอิทธิพลของภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งเผยแพร่เข้าไปพร้อมกับพระราชบัญญัติการประถมศึกษา สมัยรัชกาลที่ 6
如果沒有ไม้ม้วน,那怎麼會有ไม้มาย呢?《東北泰文字母》沒有把ใอ和ไอ叫做ไม้ม้วน和ไม้มาย,如果有東北泰文字母的書中這麼叫,那也是因爲後來被中部泰語影響後創作的 ,中部泰語的影響在拉瑪六世時期基礎教育法案中傳播開來。

ความจริงอักษรธรรมอีสานก็มาจากอักษรธรรมล้านนานั่นเอง ดังที่ อ. เพ็ญพักตร์เขียนว่า
其實東北泰文字 母也是來自蘭納泰文,如Phenphak老師寫到的:

“นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั้งหลายจึงลงความเห็นว่า รูปแบบอักษรธรรมอีสานได้รับมาจากทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยผ่านทางอาณาจักรลานช้างอีกทอดหนึ่ง… พงศาวดารโยนกและพงศาวดารลาวฉบับกะซวงสึกสาทิกานลาวกล่าวตรงกัน ว่า
“各位歷史學家 和考古學家認爲,東北泰文字母來自泰國北部,通過蘭納王國進行傳播,Yonok編年史和老撾教育部版本的編年史也記載了:

‘ศักราช 885 (พ.ศ. 2066) พระเจ้าโพธิสาลราชแต่งทูตไปขอพระไตรปิฎกจากนครเชียงใหม่ 60 คัมภีร์ พร้อมทั้งพระเทพมงคลเถระกับบริวาร’ มาเผยแพร่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในลานช้าง จากอิทธิพลทางศาสนานี้ อักษรธรรมจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอักษรธรรม ซึ่งใช้ในทางศาสนาระหว่างลานนาและลานช้าง”
‘佛曆2066年,瀾滄王國國王波迪薩拉派遣使團去清邁請回了60部佛經,以及高僧和其隨從,’來瀾滄王國宣講佛教,通過宗教的影響,東北泰文字母的使用更加廣 泛,這樣的話通過瀾滄王國和蘭納王國的宗教傳播文化的情形就更加清楚了。”

คําว่า ไม้มาไลย กลายเป็นไม้มลายไปนั้น ก็เหมือนที่เราพูดว่า “ไม่ด้าย” หรือ “ไม่ช่าย” แทนที่จะออกเสียงว่า “ไม่ได้” หรือ “ไม่ใช่” นั่นเอง บางคำนอกจากจะออกเสียงยาวไปแล้ว ยังเขียนให้อ่านตามเสียง ใหม่นั้นด้วย เช่นคําว่า “ข้าว” ซึ่งภาคเหนือและภาคอีสานยังออกเสียงว่า “เข้า” เหมือนสมัยพ่อขุนรามคําแหงอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ไม้มาไลย這個詞變成了ไม้มลาย,就好像我們現在說“ไม่ด้าย”和“ไม่ช่าย”這樣,而不是說“ไม่ได้”和“ไม่ใช่”,有些詞除了發音變長之外,寫法也和讀法一起改變了,比如“ข้าว”這個詞,北部和東北部方言會叫做“เข้า”,就像蘭甘亨時期的叫法那樣。

 

知道了來龍去脈,以後千萬不要再拼錯了哦!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。